แชร์

อาการตาบวมปิดในเต่าญี่ปุ่น และเหล่าเพื่อน

อัพเดทล่าสุด: 10 เม.ย. 2024
93 ผู้เข้าชม

อาการตาบวมปิดในเต่าญี่ปุ่น และเหล่าเพื่อน

โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล





Red ear slider เป็นเชื่อของเต่าแก้มแดง ตัวเขียวแปลกตา ที่เรามักจะเรียกกันว่า เต่าญี่ปุ่น จริงแล้วเขามาจากอเมริกาใต้ ที่เอาเรื่องเต่าญี่ปุ่นขึ้นมาเพราะเห็นเราเลี้ยงกันมาก ราคาไม่แพง และก็เจอโรคที่กำลังจะกล่าวถึงอยู่เสมอ

เต่าญี่ปุ่นอายุน้อยๆ มักมีอาการตาบวดปิด จะเป็นอาการบ่งชี้ถึงโรคขาดไวตามินเอ โดยมีอาการอื่นๆให้เห็นร่วม ตาโปน มีน้ำมูกน้ำตามาก ไม่ยอมกินอาหาร ซึม มักพบว่าตัวอ้วนจนล้นกระดอง ในหลายๆรายบ่งชี้ถึงการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม มีโอกาสเกิดโรคขาดไวตามินเอได้ง่าย อาจจะดูข้างกล่องข้างซองอาหารของเรา ว่ามีการผสมไวตามินเอรวมอยู่ด้วยหรือไม่ อาหารนั้นหมดอายุหรือไม่ เก็บไม่ถูกที่ เสื่อมเพราะถูกแสงได้

นอกจากนี้ยังพบในเต่าอายุมาก รวมไปถึงเต่าบกซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก จากการให้อาหารที่ไม่เหมาะสม

อาการ เมื่อขาดไวตามินเอ จะทำให้เกิดการขยายและเพิ่มจำนวนของเซลเยื่อบุผิวของลูกตา ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร สืบพันธ์ และปัสสาวะ หรือเป็นกันทั้งร่างกาย แต่ที่เราเห็นได้ชัดก็คือที่ ตา บางรายอาจรุนแรงไปมากกว่านั้น เมื่อมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เต่าจะหายใจลำบาก โดยการยืดคอ ยืดขา โยกตัวแรงๆ ขี้มูกใส ก็กลายเป็นขุ่นข้น

 

การรักษา

โดยการให้ไวตามินเอ (แนะนำ fat-soluble vitamin A) ขนาด 500-5000 IU/kg/BW IM, SC, PO

(โดยการฉีดหรือกิน แล้วแต่กรณี ) ทุก 1-2 สัปดาห์ ปกติดให้เพียง 2 ครั้ง จะพบว่าอาการจะดีขึ้นมาก

หากเป็นไวตามิน A, D3, E (ส่วนใหญ่ในคลินิกจะเป็นแบบนี้) ให้ 0.15 ml/kgBW ซ้ำอักครั้งเมื่อ 21 วันหรือจะให้กินครั้งแรกที่ 0.3 ml/kgBW หลังจากนั้นลดขนาดลง เหลือ 0.06 ml/kgBW ทุก 7 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

 

หากมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน (ซึ่งมักจะเป็นเช่นั้น) พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เช่น enrofloxacin 5-10 mg/kgBW IM q24h หรือ cephazolin 20 mg/kgBW SC, IM q24h หากเห็นว่าเจ้าของสามารถป้อนยาเองได้ อาจจะเลือกให้ยาชนิดกิน เช่น cephalexin 20-40 mg/kgBW PO q12h

ในกรณีพบอาการปอดอักเสบ และสภาวะแห้งน้ำ ควรนำเต่าแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้ได้รับน้ำ และเพิ่มเมตาบอลิซึม หรือให้สารน้ำทางช่องลำตัวทดแทนได้

 

การป้องกันที่เจ้าของทำได้

เสริมอาหารที่มีไวตามินเอ เช่นผัก พวกบอคเคอรี่ หรือหัวผักกาด เป็นต้น ผลไม้สีเหลืองถึงแดง เช่น มะละกอสุก แครอท แคนตาลูป เป็นต้น อาหารสดพวก ปลา หรือกุ้ง หรือหาอาหารเต่าที่เสริมไวตามินเออยู่ และเก็บให้พ้นแสง หรือเอาให้ดูดีมีสกุลกว่านั้น หยดน้ำมันตับปลา (Cod liver oil) ที่แม่เราชอบบังคับให้เรากินตอนเป็นเด็กนั่นแหละครับ ให้เขากินครั้งละ 2 หยด 2 ครั้งต่อสัปดาห์

ข้อควรระวังในการรักษา

ให้เกินขนาดจะทำให้เกิดสภาวะไวตามินเอเกิน ผิวหนังจะลอก หนา และอาการร่วมอืนๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy