แชร์

"ไรในกระต่าย (Mites in rabbit)"

อัพเดทล่าสุด: 20 เม.ย. 2024
213 ผู้เข้าชม

"ไรในกระต่าย (Mites in rabbit)"
โดย สพ.ญ. วรานันทน์ รู้ทวีผล (หมออุ้ม)


หากว่าด้วยปรสิตภายนอกที่พบมากในกระต่าย หนีไม่พ้นปรสิตในกลุ่ม ไร (mites) ทำให้กระต่ายมีอาการคัน ผิวหนังเป็นสะเก็ด และเกิดการอักเสบของผิวหนัง มีทั้งชนิดที่ไม่ก่อและก่อให้เกิดอาการทางคลินิก ชนิดที่ก่อโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากล่าช้า อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของกระต่าย ตลอดจนสุขภาพของผู้เลี้ยง
ไรที่พบได้บ่อบในกระต่าย
ไรในหู (Psoroptes cuniculi)
เป็นไรในหูชนิดที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดในกระต่าย โดยเป็นสาเหตุหลักที่เหนี่ยวนำให้เกิดช่องหูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) กระต่ายที่ติดไรชนิดนี้จะแสดงอาการคันร่วมกับพบสะเก็ดสีน้ำตาลบริเวณด้านในรูหูและขอบหูเป็นหลัก อาจพบรอยโรคดังกล่าวที่บริเวณใบหน้า ต้นคอ รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศ
ไรขี้เรื้อน (Sarcoptes scabiei var cuniculi)
หรือที่เรียกกันว่า itch mite เป็นปรสิตภายนอกที่เจาะเข้าไปในผิวหนัง อาศัยอยู่ 3-4 สัปดาห์ ในผิวหนังของโฮสต์ ไรกินน้ำเหลืองและเซลล์เยื่อบุผิวที่ลอก กระต่ายจะแสดงอาการคันมากโดยพบรอยโรคเป็นสะเก็ดหนา (hyperkeratosis) ที่บริเวณใบหน้า เท้า รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม ตัวไรชนิดนี้สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยคนที่ติดจะพบตุ่มตามผิวหนังบริเวณแขนขาร่วมกับมีอาการคัน
ไรขน (Cheyletiella parasitovorax) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า walking dandruff อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนชั้นเคราตินของหนังกำพร้า ทำให้เกิดเปลือกแข็งและเกิดตะกรัน ไม่มีอาการแสดงทางคลินิก อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของกระต่ายถูกทำลายทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในกระต่ายอายุน้อยหรือสูงวัย
อาการทางคลินิกในระยะเริ่มแรกอาจไม่รุนแรง โดยมีผิวหนังแห้ง สีขาว เกรอะกรังเล็กน้อยระหว่างสะบักและขยายไปถึงกระดูกสันหลัง เมื่อปล่อยทิ้งไว้ อาการจะระคายเคืองและคันอย่างมากต่อกระต่ายโดยมีขนร่วงเป็นหย่อมๆ
Cheyletiella เป็นโรคจากสัตว์สู่คนและอาจมีแผลที่ผิวหนังที่แขน มือ และคอของเจ้าของ
การรักษาและป้องกัน
รักษาด้วยกลุ่มของ spot-on topical หรือรูปแบบยาหยอดหลังหากเป็นเยอะอาจพิจารณาร่วมกันกับรูปแบบฉีด ขึ้นกับการตัดสินใจของสัตวแพทย์ และความรุนแรงของโรคนั้น โดยช่วงเวลาการรักษาอยู่ในช่วง 2 ถึง 8 สัปดาห์ หากกระต่ายมีลักษณะรอยโรคข้างต้น แนะนำให้พบสัตวแพทย์ และแนะนำให้แยกเลี้ยงจากกระต่ายตัวอื่นๆ รวมถึงนำน้องกระต่ายมาหยอดยาเพื่อป้องกันปรสิตภายในทุกเดือน


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy