แชร์

คำถามจากเว็ป Epofclinic

อัพเดทล่าสุด: 20 เม.ย. 2024
164 ผู้เข้าชม

คำถามจากเว็ป Epofclinic : รับมาได้ 5 วันค่ะ ตอนที่ไปรับน้องมา น้องทานอาหารเองได้ ตอนรับมา เราก็สอบถามถึงอาหารที่น้องทาน แล้วเราก็ซื้อมาจากที่ร้านค่ะ แต่พอถึงบ้านน้องไม่ทานนมเองเลย เราจับป้อนก็ไม่ทาน(ดูวิธีป้อนที่ถูกต้องตามยูทูป) วันแรกๆน้องถ่ายปกติค่ะเป็นก้อน พอเริ่มวันที่ 3 น้องเริ่มถ่ายเหลว แต่ยังไม่ซึม เริ่มเข้าวันที่ 4 น้องเริ่มไม่ทานนมเลย ให้ทานก็สะบัดออกหมด + มีอาการถ่ายเป็นสีขุ่นๆ เลยติดต่อรพส.ที่เคยไป คุณหมอไม่เข้าค่ะ ก็เลยไปอีกที่ เขาจับตัวดูเขาบอกว่าน้องผอมมาก จึงให้ยาฆ่าเชื้อมาทาน ตอนนี้น้องซึม ไม่มีแรง ไม่ทานนมเหมือนเดิม พยายามป้อนแล้ว อยากรู้ว่าอาการที่น้องเป็นเป็นอะไรหรอคะ แล้วมีวิธีรักษาอย่างไรบ้างคะ น้องอายุ 3 เดือนค่ะ
ตอบโดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล
.
ตามธรรมชาติชูการ์ไกลเดอร์จะหย่านมเองตอนอายุประมาณ 4 เดือนครับ ก่อนหน้านี้จะเริ่มกินอาหารได้เอง จะอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องประมาณ 2 เดือนครึ่ง (มากกว่า 70 วัน) แล้วเข้าๆออกๆในระยะต่อมา และอยู่ภายนอกท่ามกลางการดูแลของแม่ ในชูการ์ที่นำมาเลี้ยงมักจะหย่านมเร็วขึ้น และเลี้ยงด้วยนมทดแทน
ปัญหาที่มักจะพบในลูกที่หย่านมไว มักมาจากการเลี้ยง นมทดแทน และการติดเชื้อครับ


ปัญหาแรกมักพบได้บ่อยๆ เหมือนว่าเราจะเข้าใจการเลี้ยงถูกต้องทุกอย่าง แต่พอมาเลี้ยงจริงๆมีโอกาสพลาดได้มาก เช่น ควรให้นอนพักนานแค่ไหน กินครั้งละกี่ซีซี ควรให้นมชนิดใดได้บ้างและควรชงหรือไม่ อย่างไร อุณหภูมิในการเลี้ยง อาหารอื่นๆที่นำมาใช้ทดแทนได้ในช่วงเริ่มหัดกิน รวมทั้งสิ่งที่เป็นปัญหาบ่อยๆคือการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม และความเครียด ก็ทำให้เกิดปัญหารุนแรงได้ การดูแลระยะแรกจะละเอียดและระมัดระวังอย่างมาก


ปัญหาที่สอง คือนมทดแทน นมทดแทนที่ใช้กันมาเยอะมากครับ ผู้เลี้ยงควรตระหนักว่าน้ำนมที่ไม่ใกล้เคียงองค์ประกอบตามธรรมชาติจะมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ หรือมีสารบางชนิดทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่นนมที่มีน้ำตาลแลคโตสสูง เช่นน้ำนมจากวัว จะทำให้สัตว์ที่มีน้ำย่อยแลคเตสอยู่น้อย ไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ ทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องเสีย และนมเกือบทุกชนิดมีความเป็นด่าง และเชื้อโรคหรือเชื้อที่ก่อโรคจะเจริญได้ดีในภาวะเป็นด่าง ขณะนมแม่ตามธรรมชาติจะมีระดับของไขมันสูง (อาจจะน้อยกว่าสัตว์ฟันแทะแต่ก็ถือว่าสูงกว่านมทดแทนที่พบทั่วไป) หรือมีสูงถึง 8% และมีระดับของโปรตีนสูงถึง 20% (ในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจะต้องการโปรตีนสูงกว่าสัตว์ฟันแทะ) เมือผู้เลี้ยงต้องการนมทดแทนก็สามารถเทียบเคียงได้ หรือที่นิยมใช้กันในทางสัตวแพทย์จะเป็นอาหารกลุ่ม marsupial โดยตรงของ exotic nutrition ชื่อ marsupial milk replacer โดยตรง พอเริ่มหย่านมก็พยายามฝึกให้กินตัว High protein wombaroo (HPW) ต่อ ในเมืองไทยมีจำหน่ายครับ


การเปลี่ยนแปลงอาหารและปริมาณการกินก็พบมีความเสี่ยงทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมผิดปกติ และเสี่ยงต่ออาการท้องเสีย เพราะจะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน
ปัญหาที่สาม คือการติดเชื้อ ทั้งจากการจัดการหรือติดเชื้อมาก่อนจากแม่หรือจากฝูง หรือมาติดเชื้อภายหลังจากนม จากสิ่งแวดล้อม จะพบทั้งแบคทีเรีย และโปรโตซัวที่พบบ่อย ในกรณีนี้นอกจากปรับเรื่องนมแล้ว ยังต้องได้รับยาต้านเชื้อ น้ำเกลือหรืออิเลคโตรไลท์หากพบภาวะแห้งน้ำ และประคับประคองจนกว่าจะเริ่มตอบสนองต่อการรักษา และกินอาหารหรือนมได้โดยไม่ถ่ายเหลวอีก หรือจับเป็นก้อน
เมื่อมีการถ่ายเหลวจะเกิดอาการทวารบวมร่วมด้วย และบางรายถ่ายมากแล้วพบลำไส้ปลิ้นออกมาด้วยก็พบเสมอครับ ต้องระวังอย่าให้แห้งเพราะจะเกิดเนื้อตาย และในรายที่โตแล้วมักจะคันและกัดแทะจนเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ จนทำให้ต้องตัดเนื้อตาย บางรายต้องได้ตัดหางทิ้งจากการติดเชื้อ ในรายที่นิสัยเริ่มแทะแล้ว หมอเขาจึงมักจะใส่คอลลาร์ทีคอเพื่อกัดก้มเลียหรือกัดครับ
ขอให้หายไวไวครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy