แชร์

คำถามจากเว็ป Epofclinic

อัพเดทล่าสุด: 20 เม.ย. 2024
190 ผู้เข้าชม

คำถามจากเว็ป Epofclinic : 1.น้องมีอาการชักเกร็งตัวเเข็งไม่เคยเป็นมาก่อนค่ะ จับนอนหงายนวดๆแล้วก็หาย สักพักเป็นอีก และมีขาหลังอ่อนแรง ซึม ไม่กระโดดหรือปีนป่าย ต้องเฝ้าดูตลอด กลัวเวลาที่ไม่ได้ดูน้องจะเกร็งแล้วช่วยไม่ทันค่ะ

ตอบโดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล
.

เป็นได้จากหลายระบบ ส่วนใหญ่จะทำให้คิดว่าเป็นโรคระบบประสาทโดยตรง ที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น ที่สมองซึ่งต้องประเมินว่าสัตว์รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวขณะชัก และการชักต่อเนื่องที่เกิดอย่างต่อเนื่องคล้ายโรคลมชักในคน หลังจากชักสัตว์จะอ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง นอกจากเกิดจากระบบประสาทโดยตรง ในบางรายการขาดน้ำตาลหรือน้ำตาลต่ำก็มีผล ส่วนใหญ่จะเป็นลม รายที่ขาดแคลเซียมหรือแคลเซียมต่ำก็จะเกิดอาการชักได้ เป็นการชักเกร็ง และหากไม่ได้รับการเสริมก็จะเกิดอาการแบบซ้ำๆและถึงกับเสียชีวิตได้เช่นกันครับ


คำถามจากเว็ป Epofclinic : 2.ทำไมชูก้าดูอาการเหมือนชักเลยคะเวลาเดินทีจะล้ม ละหัวของชูก้าก็จะอยู่ไม่นิ่งทรงตัวไม่อยู่เกิดจากอะไรคะ

ตอบโดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล
.

อาการดังกล่าวเกิดได้ทั้งอาการที่เกิดจากความเสียหายที่ระบบประสาทโดยตรง และเกิดจากปัจจัยอื่นๆที่มีการสร้างของเสียหรือสารพิษไปมีผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทได้อีกทีครับ อาการดังกล่าวหากชูการ์ยังคงมีสติและรู้สึกตัวอยู่ จะเกิดผลกับระบบประสาทได้หลายส่วน เช่น สมองส่วนซีรีเบลลัม ไปจนถึงระบบประสาทเวสตรบูล่าที่ช่องหูส่วนในและระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เดินไม่สัมพันธ์ หัวเอียงหรือส่ายไปมา ตากระตุกได้ แต่หากไม่มีสติและไม่รู้สึกตัวร่วมกับอาการชัก จะเป็นสมองส่วนอื่นที่เกี่ยวกับการรับรู้ด้วย เช่น ซีลีบรัม เจ้าของต้องลองสังเกตนะครับ และยังเกิดจากความเสื่อมตามวัย


สาเหตุที่เกิดจากปัญหาร่างกายสร้างของเสีย เช่น ยูเรียสะสมที่เกิดจากโรคไต และแอมโมเนียที่เกิดจากโรคตับ สารพิษเหล่านี้ถ้ามีมากจะทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ และยังพบในโรคเมตาบอลิกอื่นๆ รวมไปถึงการได้รับสารพิษจากภายนอกอื่น ๆ


นอกจากนี้อาการที่ใกล้เคียงกันแต่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าชัก และเดินล้ม เป็นอาการอ่อนเพลียคล้ายจะเป็นลม เกิดได้จากอาการขาดน้ำตาลในเลือด ขาดแคลเซียมจากอาหารหรือโรคเมตาบอลิกกระดูก ภาวะขาดทางโภชนาการโรคของช่องหูและการมองเห็น เบาหวาน เป็นต้น


อาการทางระบบประสาท จึงควรทำการตรวจและซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ หรือเจ้าของลองทำการสังเกตและแก้ไขในสิ่งที่ทำได้ เช่นประเมินการจัดการเลี้ยงของตนเองว่าเหมาะสม และโภชนาการเหมาะสมแล้ว จะได้ตัดสาเหตุเหล่านี้ออกไปก่อน เพื่อจะได้ประเมินปัญหาทางระบบประสาทโดยตรงซึ่งบางสาเหตุจะแก้ไขไม่ได้เลย หากเกิดความเสียหายและเสื่อมไปแล้ว ทั้งระบบประสาทหรืออวัยวะอื่นๆทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายได้ครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy